วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

ความซื่อสัตย์

      ความซื่อสัตย์สามารถพัฒนาได้   : ความซื่อสัตย์เป็นเรื่องที่พัฒนาได้และเราควรมีแรงบันดาลใจอยากเป็นคนซื่อสัตย์ได้โดยตั้งคำถามว่า "เราอยากประสบความสำเร็จในระยะยาวหรือระยะสั้น" ความสำเร็จอย่างยั่งยืนริเริ่มได้ด้วยความตั้งใจจริงที่จะเอาชนะความฉ้อฉลที่พร้อมจะเกิดขึ้นในจิตใจของเรา

       ทุกคนสามารถได้รับความสำเร็จที่ยั่งยืนในชีวิตจากความซื่อสัตย์นี้ได้ หากดำเนินชีวิตด้วยความระมัดระวังพัฒนาและฝึกตนเอง เริ่มตั้งแต่ความคิด การกระทำและในทุกๆ การตัดสินใจต้องตั้งใจว่า จะไม่กระทำสิ่งใดเพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนเองต้องการ แต่จะใช้มาตรฐานความซื่อสัตย์เป็นตัววัดจิตใจเพื่อเราจะทำทุกสิ่งได้ถูกต้อง การเช่นนี้จะส่งเสริมให้เราถูกต้องเสมอต้นเสมอปลาย การเช่นนี้จะส่งเสริมให้เราเป็นบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ร่วมงาน เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ อันจะส่งผลให้ชีวิตเรามีศักดิ์ศรีและได้รับการยกชูในทางที่ดีขึ้น ความซื่อสัตย์ของเราวันนี้คือดัชนีชี้วัดความสำเร็จที่ยั่งยืนในวันข้างหน้าของเราอย่างแท้จริง

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

                                                                               
        ในวิชาคณิตศาสตร์ ทฤษฎีบทพีทาโกรัส แสดงความสัมพันธ์ในเรขาคณิตแบบยุคลิด ระหว่างด้านทั้งสามของสามเหลี่ยมมุมฉาก กำลังสองของด้านตรงข้ามมุมฉากเท่ากับผลรวมของกำลังสองของอีกสองด้านที่เหลือ ในแง่ของพื้นที่ กล่าวไว้ดังนี้

ในสามเหลี่ยมมุมฉากใด ๆ พื้นที่ของสี่เหลี่ยมที่มีด้านเป็นด้านตรงข้ามมุมฉาก เท่ากับผลรวมพื้นที่ของสี่เหลี่ยมที่มีด้านเป็นด้านประชิดมุมฉากของสาม เหลี่ยมมุมฉากนั้น

ทฤษฎีบทดังกล่าวสามารถเขียนเป็นสมการสัมพันธ์กับความยาวของด้าน a, b และ c ได้ ซึ่งมักเรียกว่า สมการพีทาโกรัส ดังด้านล่าง

a^2 + b^2 = c^2\!\,

โดยที่ c เป็นความยาวด้านตรงข้ามมุมฉาก และ a และ b เป็นความยาวของอีกสองด้านที่เหลือ

ทฤษฎีบทพีทาโกรัสตั้งตามชื่อนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก พีทาโกรัส ซึ่งถือว่าเป็นผู้ค้นพบทฤษฎีบทและการพิสูจน์ แม้จะมีการแย้งบ่อยครั้งว่า ทฤษฎีบทดังกล่าวมีมาก่อนหน้าเขาแล้ว มีหลักฐานว่านักคณิตศาสตร์ชาวบาบิโลนเข้าใจสมการดังกล่าว แม้ว่าจะมีหลักฐานหลงเหลืออยู่น้อยมากว่าพวกเขาปรับให้มันพอดีกับกรอบ คณิตศาสตร์  

                                                                                     
          ทฤษฎีบทดังกล่าวเกี่ยวข้องกับทั้งพื้นที่และความยาว ทฤษฎีบทดังกล่าวสามารถสรุปได้หลายวิธี รวมทั้งปริภูมิมิติที่สูงขึ้น ไปจนถึงปริภูมิที่มิใช่แบบยูคลิด ไปจนถึงวัตถุที่ไม่ใช่สามเหลี่ยมมุมฉาก และอันที่จริงแล้ว ไปจนถึงวัตถุที่ไม่ใช่สามเหลี่ยมเลยก็มี แต่เป็นทรงตัน n มิติ ทฤษฎีบทพีทาโกรัสดึงดูดความสนใจจากนอกคณิตศาสตร์เป็นสัญลักษณ์ของความยากจะ เข้าใจในคณิตศาสตร์ ความขลังหรือพลังปัญญา มีการอ้างถึงในวัฒนธรรมสมัยนิยมมากมายทั้งในวรรณกรรม ละคร ละครเพลง เพลง สแตมป์และการ์ตูน